วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประวัติทางการแพทย์, มารยาทของการเต้นรำ, ประวัติความเป็นมาของการเต้นรำแบบ Ball Room Dance
รายวิชา: 
พ ๓๐๑๐๖ สุขศึกษาและพลศึกษา ๖
ภาคเรียน: ๒/๒๕๕๖
จัดทำโดย: ๑. นางสาวณัฐวดี      เตชะพูลผล    เลขที่ ๓   
ม.๖/๒
            ๒. นางสาวธีราภา     รุ่งทนต์กิจ      เลขที่ ๕   
ม.๖/๒
            ๓. นางสาวพรรษพิรุณ ถิรจิตโต       เลขที่ ๗   
ม.๖/๒
            ๔. นายวิชนนท์        ดาวสุวรรณ    เลขที่ ๑๙ ม.๖/๒
ประวัติทางการแพทย์
ประวัติศาสตร์การแพทย์สากล
การรักษาในยุคแรกๆ
ในสังคมยุคโบราณ มนุษย์จะมองการเจ็บป่วยเป็นการลงโทษจากพระเจ้า การรักษาจะใช้พิธีการสวดมนต์ ประกอบพิธีกรรมเป็นหลัก โดยถือว่าเป็นยาวิเศษ ยาส่วนใหญ่ได้จากต้นไม้ พืชแถบท้องถิ่นบริเวณนั้นๆ การใช้ยาจากสมุนไพรชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดในการรักษาเป็นผลมาจากการลองผิดลองถูก
การแพทย์ยุคอียิปต์โบราณ
ในยุคอียิปต์โบราณมีตำราเกิดขึ้นบันทึกเขียนบนกระดาษ ชื่อว่า 'The Ebers Papyrus' ในเภสัชตำรับนี้มีสูตรยา 800 ตำรับและกล่าวถึงตัวยา 700 ชนิด โดยตัวยาเหล่านี้แพทย์อียิปต์จะเตรียมในรูปของยาชง, ไวน์, ยาต้ม, ยาลูกกลอน, ครีม และยาพอก (paultics) มีการใช้โคลนพอกและขนมปังที่มีเชื้อราขึ้น พอกบาดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เมื่อเวลา 1,000 ปีต่อมา เราพบว่า ดินโคลน, ขนมปังราขึ้นจะมีเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของยาปฏิชีวนะที่ใช้ในปัจจุบัน

The Ebers Papyrus จาก http://newphoenix.info/?p=2371
ตำรับยาภาษาจีน,ฮิปบรู,และสันสกฤต
เมื่อประมาณ 2000 กว่าปีก่อน มีเภสัชตำรับของจีนชื่อว่า 'Pen Tsao' ใช้กันแพร่หลายในยุคจักรพรรดิ์ 'Shen Nung' เภสัชตำรับนี้อธิบายการใชัน้ำมันกระเบา (chaumoograoil) จากต้นกระเบารักษาโรคเรื้อน ในอินเดีย แพทย์พื้นเมืองอินเดียหลายชั่วอายุคนได้ถือคัมภีร์อายุรเวท (Ayurvede ) เป็นคัมภีร์แพทย์ของฮินดู คาดว่าถูกเขียนขึ้นในช่วงแรกศตวรรษ อาจเลยไปถึงยุค ฤษี ฤค (Rig Veda) และบทสวดมนต์ที่มอบให้เทพเจ้าแห่งยาเสพติด "โซม่า" (Soma) ตั้งแต่ได้ค้นพบฤทธิ์ยาเสพติดและฤทธิ์หลอนประสาทจากเห็ด  คัมภีร์อายุรเวทถูกเขียนบันทึกครั้งแรกเป็นภาษาสันสกฤต ได้ระบุถึงพืชสมุนไพรที่ใช้ในการรักษา และคัมภีร์ ' The Charaka Samhita' ของอินเดียรจนาระบุถึงต้นไม้ยาสมุนไพรถึง 500 กว่าชนิด
                                           

Pen Tsao จาก http://commons.wikimedia.org/
           

The Charaka Samhita จาก http://www.ayurvedainnepal.com/
อิทธิพลยุคกรีก
ในยุคกรีกโบราณงานแพทย์ถูกปฏิบัติโดยแพทย์ฆราวาสที่ไม่ใช่หมอพระ การรักษาเต็มไปด้วยบทสวดมนต์และสรรเสริญและความลึกลับดำเนินเป็นไปเวลาหลายวันมีการอดอาหารและอาบน้ำ มันทำให้อารมณ์ผู้ป่วยสงบเยือกเย็น (การอดอาหารจนกระเพาะว่างมันอาจช่วยให้ตัวยาสมุนไพรออกฤทธิ์ได้ดีประมาณ 400 ปีก่อนคริตศักราช มีชาวกรีกนามว่า "ฮิปโปเครติส" สร้างปรากฏการณ์ทางแพทย์ออกจากไสยศาสตร์ และความเชื่องมงายทางศาสนา เขาเน้นว่าการแพทย์เป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์ ฮิปโปเครติส ได้รับการขนานนามว่า เป็น บิดาของการแพทย์สมัยใหม่ การสั่งสอนของเขาเน้นในเรื่อง การอดอาหาร การดำรงวิถีชีวิตที่ควร การออกกำลังกาย การได้รับแสงแดดและน้ำอย่างพอเพียง เขาวางหลักการทางแพทย์ไว้ว่า "สิ่งสำคัญคือการรักษาที่ไม่ก่อเกิดอันตราย" ฮิปโปเครติส เชื่อว่าธาตุทั้ง 4 คือ ไฟ,น้ำ,ดิน,ลมเป็นตัวแทนร่างกายของมนุษย์ ตำราของฮิปโปเครติสกล่าวถึงพืชที่ใช้รักษาถึง 300 ถึง 400 กว่าชนิด หลังยุคฮิปโปเครติสก็มาถึงยุคอริสโตเตลมีความพยายามจัดทำบัญชีรายการพืชที่ใช้ทางยา ในยุคศตวรรษแรก ชาวกรีกจะเป็นผู้บุกเบิกเภสัชตำรับสมัยใหม่และมีอิทธิพลอยู่ในด้านตำรายาสมุนไพร


            
                    Hippocrates                                          Aristotle
ยุคโรมันก้าวหน้า (Roman Advances)
ในศตวรรษแรก จะมุ่งไปยังการอดอาหาร, ยา และการผ่าตัด โรคที่เกี่ยวกับการติดเชื้อทั้งหลายจะถูกรักษาด้วยการอดอาหารและการพักผ่อนในหลักการของฮิปโปเครติส การปรับสมดุลย์ร่างกายโดยวิธีผ่าตัด ซึ่งโดยมากเป็นการนำเลือดออกจากร่างกาย มีการใช้น้ำผึ้งและไวน์ช่วยในการผ่าตัด นอกจากนี้ก็ใช้สมุนไพร ผักชี, ยี่หร่า รวมทั้งพืชที่ใช้เป็นยาถ่ายล้างลำไส้ บรรเทาอาการเท่านั้นแล้วปล่อยให้ธรรมชาติดำเนินการต่อไป ในศตวรรษที่หนึ่งนายแพทย์ผู้หนึ่งชื่อ ปลีนี (Pliny) เขียนหนังสือชุด "ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ" เป็นการรวมรวบตำรับตำราของทั้งกรีกและโรมันนับพันๆ เล่มเขียนขึ้นเป็นชุดเนื้อหาสาระของชุดหนังสือนี้ถูกถ่ายทอดตกมาเป็นการรักษาแบบพื้นบ้าน ชนชาวยุโรปและอเมริกา ประวัติศาสตร์ธรรมชาติมีการบุกเบิกการทดลองการแพทย์โดยใช้สัตว์

Pliny
การแพทย์ภายใต้ศาสนจักร
การแพทย์ที่เดิมถูกใช้ไปกับผู้ป่วยคนไข้กลายเป็นเครื่องมือการเผยแผ่ศาสนา ทางศาสนาจักรจะเห็นว่า การเจ็บป่วยเป็นการลงโทษแก่ผู้มีบาป คนไข้เพียงแต่สวดมนต์อ้อนวอน อย่างไรก็ตามวิชาความรู้ทางแพทย์จากกรีก, โรมันได้ถูกจัดเก็บเป็นเอกสารโบราณในวัด โบสถ์ ศาสนสถานต่างๆ แม้ว่าฝ่ายศาสนาจักรจะไม่ยอมรับหรือส่งเสริมความก้าวหน้าการแพทย์ของพวกที่ไม่ใช่ชาวคริสเตียนก็ตาม มีทดลองหาคุณสมบัติพืชสมุนไพรต่างๆ หนึ่งในบรรดานั้นคือยาสลบที่ใช้ในการผ่าตัด ซึ่งตัวยาจะมีฝิ่น ทำให้คนไข้หลับยาวสนิท ไม่รู้สึกเจ็บปวด
การแพทย์อาหรับ, ยุคเล่นแร่แปรธาตุในสมัยกลาง
พวกอาหรับจะกลั่นกรองตำรับทฤษฎีต่างๆ บนพื้นฐานการทดลองกับคน นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมพืชสมุนไพรบางชนิดลงไปด้วยในตำรับ ในยุคนี้มีนายแพทย์ผู้ถือกำเนิดในเปอร์เซีย ตอนต้นศตวรรษที่ 9 ได้เขียนตำรับรวบรวมคำอธิบายไข้ทรพิษ (ฝีดาษ) และหัด (measle) ขึ้นเป็นครั้งแรก ราวหนึ่งร้อยปีต่อมาได้มาถึงยุคทองของประวัติศาสตร์อิสลาม นายแพทย์ผู้หนึ่งชื่อว่า "อวิเซนนา" ถือได้ว่าเป็นเจ้าชายของบรรดาแพทย์ทั้งหลายเขาได้เขียนตำราที่ชื่อว่า "His canon of Medicine" ได้กล่าวถึงคำสอนของ กาเลนและอริสโตเติล ตำราเล่มนี้ได้ถูกใช้ทั่วไปยุโรปใน ค.ศ.ที่ 17 ปัจจุบันในแถบตะวันออกยังคงใช้อยู่ พวกอิสลามได้สร้างโรงพยาบาลสำหรับประชาชนทั่วไป, สร้างรากฐานการศึกษาทางแพทย์ ริเริ่มให้มีการตรวจวินิฉัยและการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์ แม้ว่าพวกอาหรับจะนำหลักปรัชญาผสมกับหลักเคมี ที่เรียกว่า การเล่นแร่แปรธาตุนั้น มันเป็นจุดเริ่มแพร่หลายไปส่วนต่างๆ ของโลก


      
          อวิเซนนา                     His canon of Medicine
ยุคเรเนอร์ซอง
นายแพทย์ ลีโอนาโด ดาวินซี อัจฉริยะผู้ยิ่งใหญ่ได้แรงบันดาลใจผลักดันจากการศึกษาโครงสร้างร่างกายมนุษย์ ได้ทำการผ่าตัดศพหลายครั้งหลายหน ภาพวาดที่คุณค่าทั้งทางศิลปะและวิทยาศาสตร์กว่า 750 ภาพ เป็นภาพกายวิภาคที่ละเอียดลออถือเป็นสมบัติให้ชนรุ่นหลัง หนึ่งในบรรดาแพทย์รุ่นหลังต่อมา คือ แอนดรีรัส เวซาเลียส นายแพทย์ระดับศาสตราจารย์ ของมหาวิทยาลัย พาดูอ (Padua) การผ่าตัดของ เวซาเลียสถูกเขียนเป็นตำราการแพทย์กายวิภาคที่ชื่อว่า " On the Fabric of the Human " เป็นตำราพื้นฐานด้านกายภาคของมนุษย์ยุคใหม่ ที่ถูกต้องและพัฒนาขึ้นมากกว่าของ กาเลน มากผลงานของลีโอนาโด ดาวินซีและ เวซาเลียส แปลเปลื่ยนมาเป็นตำราผ่าตัดและผู้ที่นำมาสร้างคุณประโยชน์เห็นจะได้แก่ Ambroise Pare หมอทหารผ่าตัด ชาวฝรั่งเศส ได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งการผ่าตัดสมัยใหม่
เส้นทางสู่การแพทย์ยุคสมัยใหม่
ในยุคเรเนอร์ซอง ปี ค.ศ.1600 ชายผู้มีนามว่า วิลเลี่ยม ฮารเวย์ ได้อธิบายระบบไหลเวียนโลหิตเป็นครั้งแรก มีการพัฒนากล้องจุลทรรศน์ขึ้นปลาย ค.ศ.นี้โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวดัทช์ อันโทนี่ ลีแวนฮุก ทำให้สามารถศึกษาพวกเชื้อจุลินทรีย์ได้ เอ็ดเวอดเจนเนอร์ สามารถใช้ฝีหนองจากวัวมาทำเป็นวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษเป็นปฐมบทแห่งการสร้างภูมิคุ้มกันโรค การค้นพบการแพทย์ได้ก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ 19 ทฤษฎีที่ว่า จุลินทรีย์เป็นต้นตอให้เกิดโรคได้ตั้งขึ้นโดย หลุย ปาสเตอร์ และโรเบริต์ คุช ได้นำการผ่าตัดโดยปราศจากเชื้อมาใช้ โจเซฟ ลีสเตอร์ สานต่อนอกจากความสะอาดแล้วต้องปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ด้วย ในปี ค.ศ.1840 ทันตแพทย์ชื่อ วิลเลียม ที มอร์ตันได้แสดงคุณค่าของ อีเธอร์ที่มีคุณสมบัติใช้เป็นยาสลบได้ซึ่งสามารถช่วยให้การผ่าตัดง่ายขึ้นและลดความเสี่ยงจากการใข้ยาสลบแบบเดิมลง ในปี ค.ศ.1898 สองสามี-ภรรยาตระกูลคูรี ได้ค้นพบการแพร่กัมมันตภาพรังสีของธาตุเรเดียม ซึ่งได้ถูกนำมาใช้รักษาโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ ต่อม

ประวัติการแพทย์ไทย
การแพทย์แผนไทย : ยุคก่อนอาณาจักรสุโขทัย
ศิลาจารึกของอาณาจักรขอม ได้จารึกไว้ว่าประมาณ พ.ศ. 1725 – 1729 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลตามความเชื่อในศาสนาพุทธ โดยสร้างสถานพยาบาลเรียกว่า อโรคยศาล” ขึ้น 102 แห่งในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและบริเวณใกล้เคียง และกำหนดผู้ทำหน้าที่รักษาพยาบาลไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ หมอ , พยาบาล , เภสัช , ผู้จดสถิติ , ผู้ปรุงอาหารและยา รวม 92 คน รวมทั้งมีพิธีกรรมบวงสรวง พระไภสัชยคุรุไวฑูรย์ประภา ตามความเชื่อทางศาสนาพุทธลัทธิมหายาน ด้วยการบูชา ด้วยยาและอาหาร ก่อนแจกจ่ายให้ผู้ป่วย ปัจจุบันมีอโรคยศาลที่ยังเหลือประสาทที่สมบูรณ์ที่สุดคือกู่บ้านเขว้าจังหวัดมหาสารคาม
การแพทย์แผนไทย : สมัยสุโขทัย
มีการค้นพบหินบดยาสมัยทวาราวดี ซึ่งเป็นยุคก่อนสุโขทัย และจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ได้บันทึกไว้ว่า ทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาดใหญ่บนเขาหลวงหรือเขาสรรพยา เพื่อให้ราษฎรได้เก็บสมุนไพรไปใช้รักษาโรคยามเจ็บป่วยปัจจุบันภูเขาดังกล่าวอยู่ในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ในยุคนี้ศาสนาพุทธลัทธิหินยานมีบทบาทอย่างมาก พระภิกษุนิยมธุดงค์ ศูนย์รวมของวัฒนธรรมและการศึกษาอยู่ที่วัด เชื่อว่าพระภิกษุยุคนี้มีความรู้ในการรักษาตนเองด้วยสมุนไพรและช่วยเหลือแนะนำประชาชนด้วย
การแพทย์แผนไทย : สมัยอยุธยา
การแพทย์สมัยอยุธยามีลักษณะผสมผสาน ปรับประยุกต์องค์ความรู้การแพทย์พื้นบ้านทั่วราชอาณาจักร ผสมกับความเชื่อตามแนวปรัชญาแนวพุทธ รวมทั้งความเชื่อทางไสยศาสตร์และโหราศาสตร์เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของชุมชน
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พบบันทึกว่ามีระบบการจัดหายาที่ชัดเจน สำหรับประชาชนมีแหล่งจำหน่ายยาสมุนไพรหลายแห่ง ทั้งในและนอกกำแพงเมือง มีการรวบรวมตำรับยาต่าง ๆ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย เรียกว่า ตำราพระโอสถพระนารายณ์ การแพทย์แผนไทยสมัยนี้รุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนวดไทย การแพทย์ตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาท โดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสได้จัดตั้งโรงพยาบาลรักษาโรคแต่ก็ขาดความนิยมและล้มเลิกไป
การแพทย์สมัยรัชกาลที่ 1
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงปฏิสงขรณ์วัดโพธารามหรือวัดโพธิ์ขึ้นเป็นอารามหลวง ให้ชื่อว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และโปรดเกล้าฯให้รวบรวมและจารึกตำรายา ท่าฤๅษีดัดตน และตำราการนวดไทยไว้ตามศาลาราย มีการจัดตั้งกรมหมอโรงพระโอสถคล้ายกับในสมัยอยุธยา ผู้ที่รับราชการเรียกว่าหมอหลวง ส่วนหมอที่รักษาประชาชนทั่วไป เรียกว่าหมอราษฎรหรือหมอเชลยศักดิ์
การแพทย์สมัยรัชกาลที่ 2
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้เหล่าผู้ชำนาญลักษณะโรคและสรรพคุณยา รวมทั้งผู้ที่มีตำรายาดี ๆ นำเข้ามาทูลเกล้าฯถวาย และให้กรมหมอหลวงคัดเลือกและจดเป็นตำราหลวงสำหรับโรงพระโอสถ พ.ศ.2395 โปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายชื่อว่า กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย
การแพทย์สมัยรัชกาลที่ 3
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ อีกครั้งและโปรดเกล้าฯ ให้จารึกตำรายาบอกสมุฏฐานของโรคและวิธีรักษาไว้บนแผ่นหินอ่อน ประดับตามผนังโบสถ์และศาลาราย และทรงให้ปลูกต้นสมุนไพร ที่หายากไว้ในวัดเป็นจำนวนมากนับเป็นการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมิได้จำกัดอยู่เพียงในวงศ์ตระกูลเหมือนแต่ก่อน นอกจากนี้ยังทรงปฏิสังขรณ์วัดราชโอรสารามและได้จารึกตำราไว้ในแผ่นศิลาตามเสาระเบียงพระวิหาร
รัชสมัยนี้มีการนำการแพทย์แบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ โดยคณะมิชชันารีชาวอเมริกัน โดยการนำของนายแพทย์แดนบีช บรัดเลย์ ซึ่งคนไทยเรียกว่า หมอปรัดเลย์ ซึ่งนำวิธีการแพทย์แบบตะวันตกเข้ามาใช้ เช่น การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ การใช้ยาเม็ดควินินรักษาโรคไข้จับสั่น เป็นต้น นับเป็นวิวัฒนาการการแพทย์แผนไทยและแผนตะวันตก

นายแพทย์แดนบีช บรัดเลย์
การแพทย์สมัยรัชกาลที่ 4
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้มากขึ้น เช่น การสูติกรรมสมัยใหม่ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนความนิยมของชาวไทยได้ เพราะการแพทย์แผนไทยเป็นวิถีชีวิตของคนไทยเป็นจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบเนื่องกันมา
การแพทย์สมัยรัชกาลที่ 5
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดตั้งศิริราชพยาบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2431 ซึ่งมีการเรียนการสอนและให้การรักษาทั้งการแพทย์แผนไทยและแผนตะวันตกร่วมกัน มีการพิมพ์ตำราแพทย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2438 ชื่อ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 – 4 ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นตำราแห่งชาติฉบับแรก ต่อมาพระยาพิษณุประสาทเวช (หมอคง) เห็นว่าตำรายาเหล่านี้ยากแก่ผู้ศึกษา จึงพิมพ์ตำราขึ้นใหม่ได้แก่ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 2 เล่มและตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป 3 เล่ม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขยังคงใช้มาจนทุกวันนี้

โรงพยาบาลศิริราช
การแพทย์สมัยรัชกาลที่ 6
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการสั่งยกเลิกวิชาการแพทย์แผนไทย และมีประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติการแพทย์เพื่อควบคุมการประกอบโรคศิลปะ เพื่อป้องกันอันตรายอันเนื่องมาจากการประกอบการของผู้ที่ไม่มีความรู้และมิได้ฝึกหัด ด้วยความไม่พร้อมในด้านการเรียนการสอน การสอบ และการประชาสัมพันธ์ ทำให้หมอพื้นบ้านจำนวนมากกลัวถูกจับจึงเลิกประกอบอาชีพนี้ บ้างก็เผาตำราทิ้ง จะมีหมอแผนโบราณเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่สามารถปฏิบัติได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนับเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียที่ควรคำนึงถึง
การแพทย์สมัยรัชกาลที่ 7
กฎหมายเสนาบดี ได้แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ มีการศึกษาวิจัยสมุนไพรขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2485 – 2486 ขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ลุกลามเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนยา ศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ได้ศึกษาวิจัยสมุนไพรที่ใช้รักษาไข้มาลาเรียที่โรงพยาบาลสัตหีบ หลังจากสงครามโลกสงบลง ยังคงมีปัญหาขาดแคลนยาแผนปัจจุบัน รัฐบาลจึงมีนโยบายให้องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ผลิตยาสมุนไพรเป็นยารักษาโรค

แบบทดสอบ
1.       ในยุคอียิปต์โบราณมีตำราเกิดขึ้นบันทึกเขียนบนกระดาษ ชื่อว่าอะไร
                  ก.      Pen Tsao
               ข.      The Ebers Papyrus
               ค.    On the Fabric of the Human
ง.               ง.       The Charaka Samhita
2.       ฮิปโปเครติสวางหลักการทางแพทย์ไว้ว่าอย่างไร
ก.       แพทย์ไม่ควรเก็บค่ารักษาพยาบาล
ข.       แพทย์ควรทำการรักษาในที่รโหฐาน
ค.       สิ่งสำคัญคือการรักษาที่ไม่ก่อเกิดอันตราย
ง.        สิ่งสำคัญคือผู้ป่วยต้องไม่ตาย
3.       ในสมัยรัชกาลที่ 1 หมอที่รักษาประชาชนทั่วไป เรียกว่าอะไร
ก.       หมอตำแย
ข.       หมอเชลยศักดิ์
ค.       หมอหลวง
ง.        หมอจักรี

มารยาทของการเต้นรำ

มารยาททางสังคมในการลีลาศ ที่ควรทราบมีดังนี้
การเตรียมตัว
1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด กำจัดกลิ่นต่าง ๆ ที่น่ารังเกียจ เช่น กลิ่นปาก กลิ่นตัว เป็นต้น
2. แต่งกายให้สะอาด ถูกต้อง และเหมาะสมตามกาลเทศะ ซึ่งจะเป็นหารสร้างความมั่นใจในบุคลิกภาพของตนเอง
3. ควรใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นไม่รุนแรงจนสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิด หรือกับคู่ลีลาศของตน
4. มีการเตรียมตัวล่วงหน้าโดยการฝึกซ้อมลีลาศในจังหวะต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจในการลีลาศ
5. สุภาพบุรุษจะต้องให้เกียรติสุภาพสตรีและบุคคลอื่นในทุกสถานการณ์ และจะต้องไปรับสุภาพสตรีที่ตนเชิญไปร่วมงาน
6. ไปถึงบริเวณงานให้ตรงตามเวลาที่ระบุได้ในบัตรเชิญ
ก่อนออกลีลาศ
1. พยายามทำตัวให้เป็นกันเอง และสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับเพื่อนใหม่ แนะนำเพื่อน
หญิงของตนให้บุคคลอื่นรู้จัก (ถ้ามี)
2. ไม่ดื่มสุรามากจนครองสติไม่อยู่ ถ้ารู้สึกตัวว่าเมามาก ไม่ควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
3. ไม่ควรเชิญสุภาพสตรีที่ไม่รู้จักออกลีลาศ ยกเว้นจะได้รับการแนะนำให้รู้จักกันเสียก่อน
4. สุภาพบุรุษควรแน่ใจว่าสุภาพสตรีที่ตนเชิญออกลีลาศ สามารถลีลาศจังหวะนั้น ๆ ได้หากไม่แน่ใจควรสอบถามก่อน
5. สุภาพบุรุษควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศด้วยกริยาที่สุภาพ ถ้าถูกปฏิเสธก็ไม่ควรเซ้าซี้จนเป็นที่น่ารำคาญ
6. สุภาพสตรี ไม่ควรปฏิเสธเมื่อมีสุภาพบุรุษมาขอลีลาศด้วย หากจำเป็นจะต้องปฏิเสธด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะต้องปฏิเสธด้วย
ถ้อยคำที่สุภาพนุ่มนวล และไม่ควรลีลาศกับสุภาพบุรุษอื่นในจังหวะที่ตนได้ปฏิเสธไปแล้ว
7. ถ้าในกลุ่มสุภาพสตรีที่นั่งอยู่มีบุคคลอื่นหรือสุภาพบุรุษอื่นนั่งอยู่ด้วย จะต้องกล่าวคำขออนุญาตจากบุคคลเหล่านั้นก่อนที่จะเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ

มารยาทในการลีลาศ
1. ไม่ควรสูบบุหรี่หรือขบเคี้ยวของขณะลีลาศ
2. ต้องลีลาศไปตามทิศทางที่ถูกต้อง
3. ควรแต่งกายให้ถูกต้องตามกาลเทศะ
4. ให้ความสนใจคู่ลีลาศของตน
5. ไม่แสดงความเบื่อหน่ายคู่ลีลาศของตน
6. อย่าแสดงความสนใจคู่ลีลาศอื่น
7. หากมีความจำเป็นต้องพูดคุยกับผู้อื่นในขณะลีลาศ ควรแนะนำคู่ลีลาศของตนให้รู้จักด้วย
8. ไม่ร้องเพลงคลอเสียงดนตรีขณะลีลาศ
9. ถ้าจะเปลี่ยนคู่ลีลาศ ควรพอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย
10. ไม่สอนลวดลายใหม่ขณะที่ลีลาศอยู่บนฟลอร์
11. การลีลาศโดยไม่จับคู่ถือว่าไม่สุภาพ
 มารยาทในการลีลาศของสุภาพบุรุษ
1. ไม่ควรยืนข้างฟลอร์เฉยๆ
2. ไม่ตัดคู่ขอลีลาศกับสุภาพสตรีที่กำลังลีลาศอยู่ เมื่อยังมีสตรีอื่นไม่ได้ออกลีลาศ
3. ควรเดินนำหน้าเพื่อขอทาง โดยยื่นมืออีกข้างให้สุภาพสตรีจับถ้าฟลอร์แน่น
4. เมื่อจบเพลงควรเดินตามไปส่งให้ถึงที่นั่ง พร้อมกับกล่าวขอบคุณ
5. ไม่ควรนำลีลาศในลวดลายที่ยาก
6. ถ้าจะขอลีลาศกับสุภาพสตรีอื่น ต้องขออนุญาตคู่ลีลาศของเขาก่อน และให้สุภาพสตรีพอใจที่จะลีลาศด้วย
มารยาทในการลีลาศของสุภาพสตรี
1. พยายามเป็นผู้ตาม
2. รับการขอลีลาศจากสุภาพบุรุษเสมอ
3. กล่าวรับคำขอบคุณของสุภาพบุรุษอย่างสุภาพ
4. เมื่อปฏิเสธการลีลาศจากสุภาพบุรุษคนหนึ่งแล้ว ไม่ควรออกลีลาศกับสุภาพบุรุษอื่นในจังหวะนั้น
                
                   แบบทดสอบ
4.       การกระทำในข้อใดที่เป็นมารยาทที่ไม่ดีของการเต้นลีลาศ
ก.       สุภาพสตรีด่าทอสุภาพบุรุษที่เข้ามาขอเต้นรำด้วย
ข.       สุภาพบุรุษเดินนำหน้าเพื่อขอทาง โดยยื่นมืออีกข้างให้สุภาพสตรีจับถ้าฟลอร์แน่น
ค.        สุภาพสตรีกล่าวรับคำขอบคุณของสุภาพบุรุษอย่างสุภาพ
ง.        สุภาพสตรีพยายามเป็นผู้ตาม



ประวัติความเป็นมาของการเต้นรำแบบ Ball Room Dance
Ballroom Dancing
“Ballroom Dancing” หมายถึง การเต้นรำของคู่ชายหญิงตามจังหวะดนตรีที่มีแบบอย่างและลวดลายการเต้นเฉพาะตัว โดยมีระเบียบของการชุมนุม ณ สถานที่อันจัดไว้ในสังคม ใช้ในงานราตรีสโมสรต่าง ๆ และมิใช่การแสดงเพื่อให้คนดู 

นอกจากนี้ยังมีคำอีกคำหนึ่งที่มักจะได้ยินกันอยู่เสมอคือคำว่า  “Social  Dance”  ส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้ในความหมายเดียวกันกับคำว่า  Ballroom  Dancing  แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาคำว่า  Social  Dance  หมายถึง  การเต้นรำทุกประเภทที่จัดขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนมาอยู่ร่วมกัน  และได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเต้นรำเป็นหมู่คณะ  เพื่อให้ได้ความสนุกสานเพลิดเพลิน  จึงกล่าวได้ว่า  Ballroom  Dancing  เป็นส่วนหนึ่งของ  Social  Dance

อาจสรุปได้ว่า  “ลีลาศ” คือ กิจกรรมเข้าจังหวะประเภทหนึ่ง เป็นการเต้นรำที่แสดงออกอย่างมีศิลปะ โดยใช้เสียงเพลงและจังหวะดนตรีเป็นสื่อ เพื่อให้เกิดความสนุกสนามเพลิดเพลิน มีลวดลายการเต้น (Figure) เป็นแบบเฉพาะตัว และมักนำลีลาศมาใช้ในงานสังคมทั่ว ๆ ไป

ประวัติการเต้นรำ Ballroom

การเต้นรำถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของการแสดงออกของบุคคล   ศิลปะการเต้นรำในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ถูกค้นพบจากภาพวาดบนผนังถ้ำในแอฟริกาและยุโรปตอนใต้ ซึ่งศิลปะในการเต้นรำได้ถูกวาดมาไม่น้อยกว่า 20,000 ปี  พิธีกรรมทางศาสนาจะรวมการเต้นรำ การดนตรี และการแสดงละคร ซึ่งเป็นสิ่งในชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาก  พิธีกรรมเหล่านี้อาจเป็นการบวงสรวงเทพเจ้าเทพธิดา หรือจากการล่าสัตว์มาได้ หรือการออกสงคราม นอกจากนี้อาจมีการเฉลิมฉลองการเต้นรำด้วยเหตุอื่นๆ เช่น ฉลองการเกิด การหายจากเจ็บป่วย หรือการไว้ทุกข์

การเต้นรำของพวกที่นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพวกที่ไม่มีศาสนาในสมัยโบราณนั้น โดยเฉพาะในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง มีภาพวาด รูปปั้นแกะสลักและบทประพันธ์ของชาวอียิปต์โบราณ แสดงให้เห็นว่า การเต้นรำได้ถูกจัดขึ้นในพิธีศพ ขบวนแห่ และพิธีกรรมทางศาสนา ชาวอียิปต์โบราณส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ทุกๆ ปีแม่น้ำไนล์จะหลากเมื่อน้ำลดจะทำการเพาะปลูก และมีการเต้นรำหรือแสดงละคร เพื่อขอบคุณเทพเจ้าโอซิริส (God Osiris) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการเกษตร นอกจากนี้การเต้นรำยังนำมาใช้ในงานส่วนตัวเพื่อความสนุกสนาน เช่น การเต้นรำของพวกข้าทาส ซึ่งจัดขึ้นเพื่อความสนุกสนานและต้อนรับแขกที่มาเยือน

กรีกโบราณเห็นว่า การเต้นรำเป็นสิ่งจำเป็นในการศึกษา การบวงสรวงเทพเจ้า เทพธิดา และการแสดงละคร ปรัชญาเมธีพลาโต ให้ความเห็นว่า “พลเมืองกรีกที่ดี ต้องเรียนรู้การเต้นรำเพื่อพัฒนาการบังคับร่างกายตนเอง ทักษะในการต่อสู้” ดังนั้นการเต้นรำด้วยอาวุธ จึงถูกนำมาใช้ในการศึกษาทางทหารของเด็กทั้งในรัฐเอเธนส์และสปาร์ต้า นอกจากนี้ยังถูกนำมาใช้ในการแต่งงาน ฤดูการเก็บเกี่ยวพืชผล และในโอกาสอื่นๆ

การเต้นรำทางศาสนา เป็นส่วนสำคัญในการกำเนิดการละครของกรีก ระหว่าง 500 ปี ก่อน ค.ศ. การละครของกรีกเรียกว่า“Tragidies” ซึ่งพัฒนามาจากเพลงสวดในโบสถ์ และการเต้นรำเพื่อสรรเสริญเทพเจ้าดิโอนิซุส (God Dionysus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่น การเต้นรำแบบ Emmeieia เป็นการเต้นรำที่สง่าภูมิฐาน ได้ถูกนำมาใช้ในละคร Tragedies โดยครูสอนเต้นรำจะต้องบอกเรื่องราวและชี้แนะท่าทางที่ต้องแสดงเพื่อให้จดจำได้ การแสดงตลกขบขันสั้นๆ ของกรีกเรียกว่า “Satyrs” ก็จัดอยู่ในการเต้นรำของกรีกด้วย

เมื่อโรมันรบชนะกรีก เมื่อ 197 ปี ก่อน ค.ศ. โรมันได้ปรับปรุงวัฒนธรรมการเต้นรำของกรีกให้ดีขึ้น การเต้นรำของโรมันคล้ายกับของกรีกที่เต้นรำเพื่อบวงสรวงเทพเจ้า หญิงชาวโรมันก็จะถูกฝึกให้เต้นรำ แม้แต่ชาวต่างชาติหรือพวกข้าทาสที่อยู่ในโรมันก็จะมีการเต้นรำด้วย ชาวโรมันจะเต้นรำหลังจากการเพาะปลูกหรือกลับจากสงคราม ในยุคนี้มีนักเต้นรำของโรมันที่มีชื่อเสียงมาก คือ ซิซีโร (Cicero: 106-43 B.C.) ซึ่งเป็นผู้คิดและปรับปรุงลักษณะท่าทางการเต้นรำของโรมันให้ดีขึ้น

ยุคกลางเป็นยุคที่ค่อนข้างสับสนวุ่นวาย สังคมไม่สงบสุข โบสถ์มีอิธิพลต่อการเต้นรำของยุโรปมาก โบสถ์มีข้อห้ามมากมายเกี่ยวกับการเต้นรำ ทั้งนี้เป็นเพราะการเต้นรำบางอย่างถือว่าต่ำช้าและเพื่อกามารมณ์ อย่างไรก็ดี ผู้ที่ชอบการเต้นรำมักจะหาโอกาสจัดงานเต้นรำขึ้นในหมู่บ้านของตนอยู่เสมอ ในปี ค.ศ. 300 บรรดาผู้ใช้แรงงานฝีมือ ได้จัดละครทางศาสนาขึ้นและมีการเต้นรำรวมอยู่ด้วย
             ระหว่างปี ค.ศ. 300 กาฬโรคซึ่งเรียกว่า “ความตายสีดำ” ระบาดในยุโรป ทำลายชีวิตผู้คนไปมากจนทำให้ผู้คนแทบเป็นบ้าคลั่ง ประชาชนจะร้องเพลงและเต้นรำคล้ายคนวิกลจริตที่หน้าหลุมศพ ซึ่งเขาเรียกว่าการแสดงของเขาจะช่วยขับไล่สิ่งเลวร้ายและขับไล่ความตายให้หนีไปจากชีวิตความเป็นอยู่ของเขา

ในยุคกลางยุโรปยังมีการเฉลิมฉลองการแต่งงาน วันหยุด และประเพณีต่างๆตามโอกาสด้วย “การเต้นรำพื้นเมือง” ผู้ใหญ่และเด็กในชนบทจะจัดรำดาบ และเต้นรำรอบเสาสูงที่ผูกริบบิ้นจากยอดเสา (Maypoles) พวกขุนนางที่ไปพบเห็นก็ได้นำมาพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น การเต้นรำแบบวงกลมของบรรดาขุนนางซึ่งเรียกว่า “Carol” เป็นการเต้นรำที่ค่อนข้างช้า ในช่วงปลายยุคกลาง การเต้นรำถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของขบวนแห่ต่างๆหรือในงานเลี้ยงที่มีเกียรติ

ยุคฟึ้นฟูเป็นยุคที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ยุคฟื้นฟูเริ่มในอิตาลี เมื่อปี ค.ศ. 300 ในช่วงปลายสมัยกลางแล้วแผ่ขยายไปในยุโรป ปี ค.ศ. 300 ในอิตาลี ขุนนางที่มั่นคงในเมืองต่างๆ จะจ้างครูเต้นรำอาชีพมาสอนในคฤหาสน์ของตนเรียกการเต้นรำสมัยนั้นว่า Balli หรือ Balletti ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี แปลว่า “การเต้นรำ

ในปี ค.ศ. 1588 พระชาวฝรั่งเศสชื่อโตอิโน อาโบ (Thoinnot Arbeau: ค.ศ. 1519-1589) ได้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการเต้นรำชื่อ ออเชโซกราฟี (Orchesographin) ในหนังสือได้บรรยายถึงการเต้นรำแบบต่างๆ หลายแบบ เป็นหนังสือที่มีคุณค่ามาก บันทึกถึงการเต้นรำที่นิยมใช้กันในบ้านขุนนางต่างๆ ในยุโรประหว่างศตวรรษที่ 16

งานเลี้ยงฉลองได้ถูกจัดขึ้นตามโอกาสต่างๆเช่น วันเกิด การแต่งงาน และการต้อนรับแขกที่มาเยือนในงานจะรวมพวกการเต้นรำ การประพันธ์ การดนตรี และการจัดฉากละครด้วย ขุนนางผู้หนึ่งชื่อ Lorenzo de Medlci ได้จัดงานขึ้นที่คฤหาสน์ของตน โดยตกแต่งคฤหาสน์ด้วยสีสันต่างๆ และจัดให้มีการแข่งขันหลายๆอย่าง รวมทั้งการเต้นรำสวมหน้ากาก (Mask Dance) ซึ่งต้องใช้จังหวะ ดนตรีประกอบการเต้น

พระนางแคทเธอรีน เดอ เมดิซี (Catherine de Medicis) พระราชินีในพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 เดิมเป็นชาวฟลอเรนซ์แห่งอิตาลี พระองค์ได้นำคณะเต้นรำของอิตาลีมาเผยแพร่ในพระราชวังของฝรั่งเศส และเป็นจุดเริ่มต้นของระบำบัลเล่ย์ พระองค์ได้จัดให้มีการแสดงบัลเล่ย์โดยพระองค์ทรงร่วมแสดงด้วย

ในสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ได้ปรับปรุงและพัฒนาการบัลเล่ย์ใหม่ได้ตั้ง โรงเรียนบัลเล่ย์ขึ้นแห่งแรก ชื่อ Academic Royale de Dance จนทำให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของยุโรป พระองค์คลุกคลีกับวงการบัลเล่ย์มาไม่น้อยกว่า200 ปี โดยพระองค์ทรงร่วมแสดงด้วย บทบาทที่พระองค์ทรงโปรดมากที่สุดคือ บทเทพอพอลโลของกรีก จนพระองค์ได้รับสมญานามว่า “พระราชาแห่งดวงอาทิตย์” การบัลเล่ย์ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นี้ค่อนข้างจะสมบูรณ์มาก

การเต้นระบำบัลเล่ย์ในพระราชวังนี้เป็นพื้นฐานของการลีลาศ การเต้นรำในปี ค.ศ. 1700 ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ Gavotte, Allemande และMinuet รูปแบบการเต้นจะประกอบด้วยการก้าวเดินหรือวิ่ง การร่อนถลา การขึ้นลงของลำตัว การโค้ง และถอนสายบัว ภายหลังได้แพร่ไปสู่ยุโรปและอเมริกา เป็นที่ชื่นชอบของ ยอร์ช วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกามาก การเต้นรำในอังกฤษซึ่งเป็นการเต้นรำพื้นเมืองและนิยมกันมากในยุโรป เรียกว่า Country Dance ภายหลังได้แพร่ไปสู่อาณานิคมตอนใต้ของอเมริกา

ยุคโรแมนติกเป็นยุคที่มีการปฏิรูปเรื่องบัลเล่ย์ในสมัยนี้นักเต้นรำมีความเป็นอิสระเสรีในการเคลื่อนไหวและการแสดงออกของบุคคล สมัยก่อนการแสดงบัลเล่ย์มักจะแสดงเรื่องที่เกี่ยวกับเทพเจ้า เทพธิดา แต่สมัยนี้มุ่งแสดงเกี่ยวกับชีวิตคนธรรมดาสามัญ เป็นเรื่องง่ายๆและจินตนาการ

ในสมัยที่มีการปฏิวัติในฝรั่งเศส (ค.ศ. 1789) ได้มีการกวาดล้างพวกกษัตริย์และพวกขุนนางไป เกิดความรู้สึกอย่างใหม่คือ ความมีอิสระเสรีเท่าเทียมกัน เกิดการเต้นวอลซ์ ซึ่งรับมาจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งเชื่อกันว่ามีรากฐานมาจากการเต้นLandler การเต้นวอลทซ์ได้แพร่หลายไปสู่ประเทศที่เจริญแล้วในยุโรปตะวันตก เนื่องจากการเต้นวอลซ์อนุญาตให้ชายจับมือและเอวของคู่    เต้นรำได้   จึงถูกคณะพระคริสประณามว่าไม่เหมาะสมและไม่สุภาพเรียบร้อย

ในช่วงปี ค.ศ. 1800-1900 การเต้นรำใหม่ๆที่เป็นที่นิยมกันมากในยุโรปและอเมริกา จะเริ่มต้นจากคนธรรมดาสามัญโดยการเต้นรำพื้นเมือง พวกขุนนางเห็นเข้าก็นำไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับราชสำนัก เช่น การเต้น โพลก้า วอลซ์ ซึ่งกลายเป็นที่นิยมมากของคนชั้นกลางและชั้นสูง

ในอเมริการูปแบบใหม่ในการเต้นรำที่นิยมมากในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพและพวกที่ยากจน คนผิวดำนิยมเต้น Tap-Danced หรือระบำย่ำเท้า โดยรวมเอาการเต้นรำพื้นเมืองในแอฟริกา การเต้นแบบจิ๊ก (jig) ของชาวไอริส และการเต้นรำแบบคล๊อก (Clog) ของชาวอังกฤษเข้าด้วยกัน คนผิวดำมักจะเต้นไปตามถนนหนทาง

ก่อนปี ค.ศ. 1870 การเต้นรำได้ขยายไปสู่เมืองต่างๆในอเมริกา ผู้หญิงที่ชอบร้องเพลงประสานเสียงจะเต้นระบำแคนแคน (Can-Can) โดยใช้การเตะเท้าสูงๆ เพื่อเป็นสิ่งบันเทิงใจแก่พวกโคบาลที่อยู่ตามชายแดนอเมริกา ระบำแคน-แคน มีจุดกำเนิดมาจากฝรั่งเศส

จังหวะวอลซ์จากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งเกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 17 แต่มิได้เผยแพร่ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1816 จังหวะวอลซ์ ได้ถูกนำมาเผยแพร่ต่อที่ประชุมโดยพระเจ้ายอร์ชที่ 4 แม้จะไม่สมบูรณ์นักในขณะนั้น แต่ก็จัดว่าจังหวะวอลซ์เป็นจังหวะแรกของการลีลาศแท้จริง เพราะคู่ลีลาศสามารถจับคู่เต้นรำได้

ในราวปี ค.ศ. 1840 การเต้นรำบางอย่างกลับมาเป็นที่นิยมอีก อาทิ โพลก้า จากโบฮิเมีย ซึ่งเป็นที่นิยมมากในเวียนนา ปารีส และลอนดอน จังหวะมาเซอก้า (Mazuka) จากโปแลนด์ก็เป็นที่นิยมมากในยุโรปตะวันตก

ในราวกลางศตวรรที่ 19 การเต้นรำใหม่ๆก็เกิดขึ้นอีกมาก อาทิ การเต้นมิลิตารี่ สก๊อตติช (Millitary Schottische) การเต้นเค็กวอล์ค (Cakewalk) ซึ่งเป็นการเต้นรำแบบหนึ่งของพวกนิโกรในอเมริกา การเต้นทูสเตป (Two-Step) การเต้นบอสตัน (Boston)และการเต้นเตอรกีทรอท (Turkey trot)

ในศตวรรษที่ 20 ค.ศ. 1910 จังหวะแทงโก้จากอาร์เจนตินา เริ่มเผยแพร่ที่ปารีส เป็นจังหวะที่แปลกและเต้นสวยงามมาก
ในระหว่างปี ค.ศ. 1912-1914 Vemon และ lrene Castle ได้นำรูปแบบการเต้นรำแบบใหม่ๆ จากอังกฤษมาเผยแพร่ในอเมริกาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่จังหวะฟอกซ์ทรอทและแทงโก้

สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้เลือกเฟ้นจังหวะเต้นรำทั้งบอลล์รูมและลาตินอเมริกาเรียบเรียงขึ้นเป็นตำรา วางหลักสูตรของแต่ละจังหวะรัดกุม ในสมัยนี้ประเภทบอลรูม มีเพียง 4 จังหวะคือ วอลซ์ ควิกวอลซ์ สโลว์ฟอกซ์ทรอทและแทงโก้
         
ปี ค.ศ. 1920 ในอเมริกาเริ่มนิยมจังหวะ Paso-Doble และการเต้นรำแบบก้าวเดียวสลับกัน (One-step) ซึ่งเรียกกันว่า Fast fox-trot

ปี ค.ศ. 1925 จังหวะชาร์ลตัน (Charleston) เริ่มเป็นที่นิยม รูปแบบการเต้นคล้ายทูสเตป และในปีเดียวกันนี้ Arthur Murray ก็ได้ให้กำเนิดการเต้นรำแบบสมัยใหม่ (Modem Dances) ขึ้น การเต้นรำแบบสมัยใหม่นี้เป็นการเต้นรำที่แสดงออกถึงจินตนาการของแต่ละบุคคล ไม่มีท่าเต้นที่แน่นอนตายตัว บางครั้งก็นำท่าบัลเล่ย์มาผสมผสานด้วย

ปี ค.ศ. 1929 จังหวะจิตเตอร์บัก (Jittebug) เริ่มเป็นที่นิยม รูปแบบการเต้นต้องอาศัยยิมนาสติก การเบรก และการก้าวเท้าย่ำเร็วๆ ในปีเดียวกันอิทธิพลจากเพลงแจ๊สของอเมริกา ทำให้เกิดจังหวะควิกสเตปขึ้น เป็นจังหวะที่ 5 ของบอลรูม

ปี ค.ศ. 1929 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการลีลาศ (Official Board of Ballroom Dancing) ขึ้นในประเทศอังกฤษและจัดการแข่งขันเต้นรำในอังกฤษทุกปี

ปี ค.ศ. 1930 การเต้นรำของชาวคิวบา (Cuban Dance) ก็เป็นที่นิยมมากในอเมิกา คือจังหวะคิวบันรัมบ้า หรือจังหวะรัมบ้า

ปี ค.ศ. 1939 บรรดาครูลีลาศและผู้ทรงคุณวุติทางลีลาศในอังกฤษได้ร่วมกันวางกฏเกณฑ์ของลวดลายต่างๆ ในลีลาศเพื่อให้เป็นมาตราฐานเดียวกัน ในแต่ละจังหวะมีประมาณ 20 ลวดลาย

ปี ค.ศ. 1940 การเต้นคองก้าและแซมบ้าจากบราซิลก็เป็นที่นิยมกันมาก

ปี ค.ศ. 1950 ได้จัดตั้งสภาการลีลาศระหว่างชาติ (International Council of Ballroom Dancing) โดยใช้ชื่อย่อว่า I.C.B.D. และในปีเดียวกันนี้มีจังหวะใหม่ๆ เข้ามาเผยแพร่อีก เช่น จังหวะแมมโบ้จาก คิวบา ชา ชา ช่า จากโดมินิกัน และเมอเรงเก้จากโดมินิกันเช่นกัน

ปี ค.ศ. 1959 จัดแข่งขันลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนโลกขึ้นที่ประเทศอังกฤษ โดยจัดทั้งประเภทสมัครเล่นและอาชีพ ตามกฏเกณฑ์ที่สภาการลีลาศระหว่างชาติกำหนด นอกจากนี้สภาการลีลาศระหว่างชาติได้กำหนดจังหวะมาตรฐานไว้ 4 จังหวะ คือ วอลซ์ ฟอกซ์ทรอท แทงโก้ และควิกสเตป ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวะที่มีการจัดการแข่งขันมี วอลซ์แบบอังกฤษ ฟอกซ์ทรอท แทงโก้ ควิก สเตป และเวนิสวอลซ์ นอกจากนี้อมริกาและอังกฤษได้แนะนำร็อคแอนด์โรคให้ชาวโลกได้รู้จัก

ปี ค.ศ. 1960 มีจังหวะใหม่ๆ เกิดขึ้นในอเมริกาโดยคนผิวดำคือ จังหวะทวิสต์ การเต้นจะใช้การบิดลำตัว เข่าโค้งงอ การเต้นจะไม่แตะต้องตัวกับคู่คือต่างคนต่างเต้น นอกจากนี้ยังมีจังหวะฮัสเซิล (Hustle) และจังหวะบัสสาโนวา (Bossanova) ซึ่งดัดแปลงจากแซมบ้าของบราซิล

ปี ค.ศ. 1970 นิยมการเต้นรำที่เรียกว่า ดิสโก้ (Disco) ซึ่งค่อนข้างเต้นแบบอิสระมาก

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันนี้มีการเต้นรำใหม่ๆ เกิดขึ้นหลายแบบ เช่น แฟลชดาน (Flash Dances) เบรกดานซ์ (Brake Dances) ซึ่งมักจะเริ่มจากพวกนิโกรในอเมริกา และยังมีการเต้นรำโดยใช้ท่าบริหารร่างกายประกอบจังหวะดนตรีซึ่งเรียกว่า แอโรบิคดานซ์ (Aerobic Dances) ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ การเต้นรำแบบต่างๆ เหล่านี้ไม่จัดเป็นการลีลาศ

นอกจากนี้ จังหวะเต้นรำก็เกิดขึ้นใหม่ๆ อีกหลายจังหวะเช่น สลูปปี้ เจอร์ค วาทูซี่ เชค อโกโก้ แมทโพเตโต้ บูการลู ซึ่งจัดเป็นการเต้นรำสมัยใหม่อยู่ ไม่จัดเป็นการลีลาศเช่นกัน

5.  Ballroom Dance เป็นส่วนหนึ่งของ
  ก.     Folk Dance
  ข.     Jive
  ค.     Rock n Roll
  ง.     Social Dance



อ้างอิง: http://www.gpo.or.th/various_pharmacy/history.html                                                                http://benkyoshin.blogspot.com/2008/01/blog-post.html?m=1